รายได้เสริมจากการเลี้ยงปลา

ในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก อันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด 19 การสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชุมชนนอกเหนือจากการทำอาชีพหลัก ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าวิกฤตการณ์ของโรคในครั้งนี้จะผ่านไปเมื่อไหร่ ถึงเวลาที่เราชาวไทยจะต้องหันกลับมาใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างทรัพย์ในดินสินในน้ำ การบริหารจัดการของคนในชุมชน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าในแหล่งน้ำชุมชน โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

การเพาะพันธุ์ปลานิลน้ำจืด

ปลาที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในปัจจุบันคือปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.ศ 2508 เป็นต้นมาก็สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพและมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างที่จะหายากและการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของประชาชนบางกลุ่มก็มีอุปสรรคเพราะประชาชนมีรายได้ที่ไม่เพียงพอและเพื่อให้ได้พันธุ์ปลานิลที่ดีมีคุณภาพ กองพลทหารราบที่ 6 ได้ดำเนินการให้หน่วยงานทหารผลิตพันธุ์ปลานิลน้ำจืด เพื่อไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อนพื้นที่อีสานใต้ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่จะช่วยให้พี่น้องประชาชนโดยรอบค่ายและประชาชน ในเขตพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ได้มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถเข้ามาเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลานิล นำความรู้และวิธีการแก้ไขปัญหามาให้กับชาวบ้านได้นำมาปฏิบัติ อย่างเป็นรูปประธรรมและเกิดประโยชน์

ศูนย์เรียนรู้สานต่อที่พ่อทำ 1 ไร่แก้จน อ. หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี

หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพสามารถยึดเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลางและสอดคล้องกับการใช้จ่ายของตนเองอย่างเหมาะสม การดำเนินโครงการสานต่อที่พ่อทำขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่หรือที่เรียกกันว่าโครงการ 1 ไร่แก้จน มีการขับเคลื่อนเดินหน้าเต็มที่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซร จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการสานต่อที่พ่อทำขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจาก การส่งเสริมให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและนำกลับไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองอย่างแท้จริง

วิสาหกิจชุมชนท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม

ลักษณะชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็กที่อยู่ลงตัวกันมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างเรียบง่าย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดวาอารามมีสวนเกษตรของชาวบ้านที่เหมาะกับการไปท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่มีศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการทำเกษตรแบบผสมผสานอยู่มากมาย ไม่เพียงแต่สวนเกษตรของคุณอิทธิเดชเท่านั้น แต่ว่ายังมีสวนเกษตรอื่นๆอีกหลายแห่งและเกษตรกรชาวสวน พร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลอื่นๆซึ่งทุกคนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นวิทยากรเพื่อสอนองค์ความรู้ที่ตนเองถนัดให้กับกลุ่มต่างๆอยู่เสมอ

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคนเมือง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็สามารถที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เช่นเรื่องราวของชาวชุมชนบางบัวเขตลาดกระบัง ที่มีพื้นที่ค่อนข้างน้อยแล้วก็มีต้นทุนไม่มาก แต่สามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดรายได้เสริม ที่สำคัญจะเห็นได้ถึงเรื่องของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของชาวชุมชนบึงบัว ที่พร้อมจะเสียสละเวลาว่างมาทำกิจกรรมและสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม

ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน ในช่วงตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงพระราชทานความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง เอาไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficiency Economy ดังพระราชดำรัสที่ได้ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554