แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565

นโยบายสำคัญการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทภ.๒ ประจำปี ๒๕๖๕


ให้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” เป็นแนวทางในการประยุกต์นำไปดำเนินงาน “สืบสาน รักษา ต่อยอด งานด้านศิลปาชีพ และคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ไทย”ให้มั่นคง ยั่งยืน และสมาชิกได้ประโยชน์อย่างสูงสุด


๕.๑.๑ การสืบสานกิจกรรมตามพระราชเสาวนีย์ : ให้มีการติดตามงานและกิจกรรมตามพระราชเสาวนีย์ ในการดูแลสมาชิกของศูนย์/โครงการฯ คือ สมาชิกกิจกรรมเสริม, สมาชิกผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ และสมาชิกนักเรียนทุนในพระบรมราชานุเคราะห์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามข้อกำหนดของ กรส. โดยมีเป้าหมายสำคัญ “ ให้สมาชิกมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ” เน้นย้ำในสาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้

๑) ส่งเสริมให้สมาชิกผลิตเส้นไหม(พันธุ์ไทยแท้)และทอผ้าไหมได้เองแบบครบวงจร
เพื่อสามารถจัดจำหน่ายในพื้นที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเน้นจุดเด่นที่เป็นผ้าทอมือ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๒) ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนเส้นไหมในกลุ่มสมาชิก (ปัจจุบัน สมาชิกต้องขอรับพระราชทานเส้นไหม เพื่อทอผ้าส่งที่ กรส.) โดยอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเกื้อกูลกัน เช่น กลุ่มผลิตใบหม่อนส่งใบหม่อนสำหรับเลี้ยงตัวไหมให้กับกลุ่มเลี้ยงไหม, ได้ตัวไหมส่งให้กลุ่มสาวไหม, ได้เส้นไหมส่งให้กลุ่มย้อมไหม
แล้วส่งให้กลุ่มทอผ้าไหมดำเนินการทอเป็นผืนผ้าต่อไป พิจารณารายได้บางส่วนจากการขายผ้าไหมเก็บ
เข้ากองทุน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนภายในกลุ่มไว้ใช้ในการบริหารจัดการและเป็นสวัสดิการของกลุ่มต่อไป
๓) สำรวจความต้องการของตลาดการค้าผ้า มีแนวโน้มและความต้องการ
แบบใดบ้างเพื่อนำมาปรับปรุงการทอผ้าของสมาชิก โดยเฉพาะผ้าไหมพื้นเรียบสีอ่อนหรือผ้าไหมมีลาย“ตีนจก” ปลายผืนผ้า
๔) ประสานส่วนการศึกษาในพื้นที่ ที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือในการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ ราคาไม่แพง สามารถจัดจำหน่ายได้ง่ายขึ้น เช่น แปรรูปเป็นกระเป๋า พวงกุญแจ ผ้ารองจาน เป็นต้น
๕) ประสานร้านค้าธุรกิจจัดงานมงคลสมรส เพื่อเสนอผ้าไหมสีขาว/สีงาช้าง
เป็นทางเลือกการตัดเป็นชุดในงานมงคลสมรสของคู่บ่าว-สาว
๖) เพิ่มมาตรการควบคุมการแจกจ่ายเส้นไหมหลวง เพื่อไม่ให้มียอดค้างที่ไม่ได้ทอผ้า
ส่งให้ กรส. ตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม (หลังรับเส้นไหมหลวง ควรเอาขึ้นกี่ทอผ้าภายใน ๒ – ๓ สัปดาห์)
โดยให้ ศูนย์/โครงการฯ จัดทำดัชนีชี้วัดผลงานในการทอผ้า โดยกำหนดว่าเป็นจำนวนชิ้นและเส้นไหมหลวง
กี่เส้นภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ๓ เดือน, ๖ เดือน, ๙ เดือน และ ๑ ปี หากมียอดเส้นไหมหลวงคงเหลือต้องนำส่งคืนภายในไม่เกิน ๑๕ ก.ย. ของปีถัดไป

๗) ติดตาม,เยี่ยมเยียนสมาชิกที่เว้นว่าง หรือทิ้งช่วงห่างจากการเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อรับทราบสาเหตุและช่วยแก้ปัญหา ตลอดจนหาแนวทางในการเชิญชวนบุตรหลานสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม โดยกำหนดให้ ชป.ศูนย์/โครงการฯ เข้าพบปะกับสมาชิกอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง และสรุปผลการการเข้าพบปะ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะ ส่งให้กับ ศปร.เขตพื้นที่ ภายในทุกวันที่ ๒๕ ของเดือนทราบ และศปร.เขตพื้นที่ รายงานให้ ศปร.ทภ.๒ ทราบ ในวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป
๘) ติดตามข้อมูลนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ที่สำเร็จการศึกษา และประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพโดยจัดทำเป็นสถิติผลการศึกษาของแต่ละคนและดัชนีชี้วัดในภาพรวมและนักเรียนแต่ละปีเพื่อนำเสนอในรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๙) การประสานงานกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทอผ้าของสมาชิกให้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยจัดทำข้อมูลประวัติสมาชิกทุกคนและจัดทำไลน์กลุ่มในการประสานงานต่อไป
๕.๑.๒ การรักษางานด้านศิลปาชีพ และคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ไทย เพื่อการพัฒนาและขยายผลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง : ให้มีการวางแผนในการพัฒนาและขยายผลงานด้านศิลปาชีพ และคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ไทยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการดำเนินงานในกลยุทธ ๙ ด้าน เป็นหัวข้อในการดำเนินการ คือ ๗) ติดตาม,เยี่ยมเยียนสมาชิกที่เว้นว่าง หรือทิ้งช่วงห่างจากการเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อรับทราบสาเหตุและช่วยแก้ปัญหา ตลอดจนหาแนวทางในการเชิญชวนบุตรหลานสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม โดยกำหนดให้ ชป.ศูนย์/โครงการฯ เข้าพบปะกับสมาชิกอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง และสรุปผลการการเข้าพบปะ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะ ส่งให้กับ ศปร.เขตพื้นที่ ภายในทุกวันที่ ๒๕ ของเดือนทราบ และศปร.เขตพื้นที่ รายงานให้ ศปร.ทภ.๒ ทราบ ในวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป
๘) ติดตามข้อมูลนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ที่สำเร็จการศึกษา และประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพโดยจัดทำเป็นสถิติผลการศึกษาของแต่ละคนและดัชนีชี้วัดในภาพรวมและนักเรียนแต่ละปีเพื่อนำเสนอในรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๙) การประสานงานกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทอผ้าของสมาชิกให้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยจัดทำข้อมูลประวัติสมาชิกทุกคนและจัดทำไลน์กลุ่มในการประสานงานต่อไป
๕.๑.๒ การรักษางานด้านศิลปาชีพ และคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ไทย เพื่อการพัฒนาและขยายผลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง : ให้มีการวางแผนในการพัฒนาและขยายผลงานด้านศิลปาชีพ และคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ไทยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการดำเนินงานในกลยุทธ ๙ ด้าน เป็นหัวข้อในการดำเนินการ คือ

๕.๑.๓ จัดทำแผนปฏิบัติงานการพัฒนาและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ของแต่ละศูนย์/โครงการฯ เพื่อนำเสนอเข้าสู่แผนพัฒนาประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (กลไกของคณะกรรมการ ก.บ.จ.) ผ่านฝ่ายประสานกับ ก.บ.จ.ของหน่วย และเข้าสู่แผนพัฒนาขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ( อบจ., ทต. และ อบต.) โดยระบุทิศทาง วิธีการ กิจกรรมย่อย การติดตาม การประเมินผล
ให้ชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ
๕.๑.๔ การปรับปรุงศาลาทรงงานเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของชุมชน
๑) นำภาพประวัติศาสตร์การเสด็จฯ ในพื้นที่พร้อมคำบรรยายอธิบายใต้ภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมา และความสำคัญของเหตุการณ์นั้น จัดแสดงจำลองโต๊ะทรงงาน
๒) จัดทำเป็นเรื่องราวบันทึกประวัติชุมชน/ประวัติการจัดตั้ง ศูนย์/โครงการฯ ไว้ในศาลาทรงงาน
๓) รวบรวมภาพกิจกรรมต่างๆ พร้อมเหตุการณ์สำคัญของสมาชิก ศูนย์/โครงการฯ
การตรวจเยี่ยมของบุคคลสำคัญที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ศูนย์/โครงการฯ พร้อมการประดับตกแต่ง
ในศาลาทรงงานให้สมพระเกียรติ
๔) ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นในเขตบริเวณของ ศูนย์/โครงการฯ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชน ศูนย์/โครงการฯ ให้เยาวชนได้สามารถถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและให้ได้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
๕) เชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด
๕.๑.๕ การแบ่งเบาพระราชภาระ
๑) ประสาน อปท. เพื่อสร้างความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของ ศูนย์/โครงการฯ โน้มน้าวให้ อปท. เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ เพื่อลดพระราชภาระ
ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
๒) ยกระดับการประสานกับ อปท. โดยการทำ MOU เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
ในการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ รวมถึงค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ – ค่าไฟฟ้า ภายใน ศูนย์/โครงการฯ
๓) ประสาน สตง. ค้นหาข้อมูล ระเบียบ การใช้จ่าย หรืออุดหนุนงบประมาณของ อปท. เพื่อหาแนวทางในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อปท. ในการดำเนินการด้านการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ ให้การขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
๕.๑.๖ การต่อยอดองค์ความรู้ด้านการทอผ้าและวัฒนธรรมการทอผ้าไปสู่เยาวชน เพื่อการสร้างทายาทช่างศิลปหัตถกรรมในชุมชน
๑) ประสานหน่วยงานด้านการศึกษา จัดทำแผนการเรียนการสอนเพื่อยกระดับการเรียน/การสอนเรื่องการทอผ้าไปสู่เยาวชนระดับอาชีวะหรืออุดมศึกษา และในโรงเรียนใกล้ศูนย์/โครงการ (เพิ่มจากเดิม) พร้อมถ่ายทอดไปสู่บุตร – หลาน สมาชิก โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ไปสู่การตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และของใช้ขนาดกะทัดรัด ราคาไม่แพง
๒) ขยายผลไปสู่โรงเรียนใกล้เคียง ศูนย์/โครงการ มากขึ้น โดยอาจจะยกระดับให้การเรียนทอผ้ามีผลต่อคะแนนการศึกษาของนักเรียนแต่ละชั้นปี ทั้งนี้ ศปร.ทภ.๒ จะประสานในระดับกระทรวง, กรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางบรรจุวิชาการทอผ้าเป็นวิชาเลือกเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ที่มีความพร้อม ต่อไป
๓) ประสานศูนย์หม่อนไหมฯ ในพื้นที่ เพื่อยกระดับการสอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่การประกวดแข่งขัน ในระดับภาค ระดับประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจเยาวชนให้หันมาเรียนรู้การทอผ้า
ให้มากขึ้น โดยเฉพาะทักษะของเยาวชนในการทอผ้า ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการทอผ้าผืนเล็กๆ ก่อน
๔) การตลาดของผลิตภัณฑ์จากสมาชิก
(๑) ส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้า เป็นของใช้สอยขนาดเล็ก ราคาไม่แพง เช่น พวงกุญแจ, ที่รองจานข้าว, ผ้าเช็ดมือ โดยอาจจะแสวงประโยชน์กับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย หรือส่วนการศึกษา ที่มีหลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า
(๒) ประสานจังหวัด, หอการค้าหรือภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อเปิดตลาดการค้าภายในจังหวัด, การค้าในงานประจำปีของจังหวัด
(๓) จัดสร้างเวปเพจ และการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของศูนย์/โครงการ เข้าสู่ระบบการค้าออนไลน์
(๔) จัดสร้างการสื่อสารข้อมูล หรือการค้นหาข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ประจำศูนย์/โครงการ ให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ทันสมัยภายใต้การกำกับดูแลของ ชป.ศูนย์/โครงการ
(๕) ประสานสโมสรฟุตบอลในพื้นที่ ในการผลิตผ้าพันคอกองเชียร์ฟุตบอล ที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายจากศูนย์/โครงการฯ ในพื้นที่ โดยอาจทำเป็นของที่ระลึกสำหรับสมาชิกวีไอพี ของสโมสร

๕.๑.๗ การน้อมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่สมาชิกและราษฎรใกล้เคียง
๑) ขยายผลและประยุกต์องค์ความรู้ใน “ศาสตร์พระราชา” สู่หมู่บ้าน/ชุมชน และขยายขีดความสามารถของ ศูนย์/โครงการฯ ให้เป็นศูนย์หรือแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำหมู่บ้าน/ชุมชน โดยให้ ศปร.เขตพื้นที่ สามารถถ่ายทอดความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร หรืองานเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
๒) ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดสรรงบประมาณไปดำเนินในศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรของกลุ่มสมาชิกตัวอย่าง/นำร่องที่ได้ดำเนินการดีแล้ว อันเป็นการต่อยอด/ขยายผลให้ศูนย์การเรียนรู้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น พร้อมเป็นตัวอย่างให้สมาชิกและราษฎรในพื้นที่มาเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
๕.๑.๘ การตรวจเยี่ยมศูนย์/โครงการฯ โดยผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น
๑) พบปะ หารือ พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการในจังหวัด อาทิ
ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจกรรมไปสู่ ศูนย์/โครงการฯ
ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
๒) ให้พิจารณา นำกิจกรรมบริการสาธารณะไปบริการสมาชิกและประชาชนที่มารอรับการตรวจเยี่ยมด้วย เช่น บริการรักษาพยาบาลขั้นต้น การซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า การทะเบียนสัสดี บริการปรึกษาด้านกฎหมาย บริการความรู้ด้านการเกษตร
๕.๑.๙ แผนการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ แผนการพัฒนาที่เหมาะสมตามความถนัดให้กับสมาชิกของ ศูนย์/โครงการฯ ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ ๖๕ – ๗๕ ปี) ซึ่งอาจจะไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมตามรูปแบบเดิมของการสมัครเข้าเป็นสมาชิกครั้งแรกได้ ยกตัวอย่างเช่น ปรับเปลี่ยนจากกิจกรรมการทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย เป็นการเลี้ยงไหม ทดแทนเพื่อไม่ให้สมาชิกขาดรายได้

๕.๑.๓ จัดทำแผนปฏิบัติงานการพัฒนาและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ของแต่ละศูนย์/โครงการฯ เพื่อนำเสนอเข้าสู่แผนพัฒนาประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (กลไกของคณะกรรมการ ก.บ.จ.) ผ่านฝ่ายประสานกับ ก.บ.จ.ของหน่วย และเข้าสู่แผนพัฒนาขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ( อบจ., ทต. และ อบต.) โดยระบุทิศทาง วิธีการ กิจกรรมย่อย การติดตาม การประเมินผล
ให้ชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ

๕.๑.๔ การปรับปรุงศาลาทรงงานเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของชุมชน
๑) นำภาพประวัติศาสตร์การเสด็จฯ ในพื้นที่พร้อมคำบรรยายอธิบายใต้ภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมา และความสำคัญของเหตุการณ์นั้น จัดแสดงจำลองโต๊ะทรงงาน
๒) จัดทำเป็นเรื่องราวบันทึกประวัติชุมชน/ประวัติการจัดตั้ง ศูนย์/โครงการฯ ไว้ในศาลาทรงงาน
๓) รวบรวมภาพกิจกรรมต่างๆ พร้อมเหตุการณ์สำคัญของสมาชิก ศูนย์/โครงการฯ
การตรวจเยี่ยมของบุคคลสำคัญที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ศูนย์/โครงการฯ พร้อมการประดับตกแต่ง
ในศาลาทรงงานให้สมพระเกียรติ
๔) ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นในเขตบริเวณของ ศูนย์/โครงการฯ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชน ศูนย์/โครงการฯ ให้เยาวชนได้สามารถถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและให้ได้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
๕) เชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด
๕.๑.๕ การแบ่งเบาพระราชภาระ
๑) ประสาน อปท. เพื่อสร้างความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของ ศูนย์/โครงการฯ โน้มน้าวให้ อปท. เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ เพื่อลดพระราชภาระ
ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
๒) ยกระดับการประสานกับ อปท. โดยการทำ MOU เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
ในการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ รวมถึงค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ – ค่าไฟฟ้า ภายใน ศูนย์/โครงการฯ
๓) ประสาน สตง. ค้นหาข้อมูล ระเบียบ การใช้จ่าย หรืออุดหนุนงบประมาณของ อปท. เพื่อหาแนวทางในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อปท. ในการดำเนินการด้านการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ ให้การขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

๕.๑.๖ การต่อยอดองค์ความรู้ด้านการทอผ้าและวัฒนธรรมการทอผ้าไปสู่เยาวชน เพื่อการสร้างทายาทช่างศิลปหัตถกรรมในชุมชน
๑) ประสานหน่วยงานด้านการศึกษา จัดทำแผนการเรียนการสอนเพื่อยกระดับการเรียน/การสอนเรื่องการทอผ้าไปสู่เยาวชนระดับอาชีวะหรืออุดมศึกษา และในโรงเรียนใกล้ศูนย์/โครงการ (เพิ่มจากเดิม) พร้อมถ่ายทอดไปสู่บุตร – หลาน สมาชิก โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ไปสู่การตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และของใช้ขนาดกะทัดรัด ราคาไม่แพง
๒) ขยายผลไปสู่โรงเรียนใกล้เคียง ศูนย์/โครงการ มากขึ้น โดยอาจจะยกระดับให้การเรียนทอผ้ามีผลต่อคะแนนการศึกษาของนักเรียนแต่ละชั้นปี ทั้งนี้ ศปร.ทภ.๒ จะประสานในระดับกระทรวง, กรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางบรรจุวิชาการทอผ้าเป็นวิชาเลือกเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ที่มีความพร้อม ต่อไป
๓) ประสานศูนย์หม่อนไหมฯ ในพื้นที่ เพื่อยกระดับการสอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่การประกวดแข่งขัน ในระดับภาค ระดับประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจเยาวชนให้หันมาเรียนรู้การทอผ้า
ให้มากขึ้น โดยเฉพาะทักษะของเยาวชนในการทอผ้า ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการทอผ้าผืนเล็กๆ ก่อน
๔) การตลาดของผลิตภัณฑ์จากสมาชิก
(๑) ส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้า เป็นของใช้สอยขนาดเล็ก ราคาไม่แพง เช่น พวงกุญแจ, ที่รองจานข้าว, ผ้าเช็ดมือ โดยอาจจะแสวงประโยชน์กับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย หรือส่วนการศึกษา ที่มีหลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า
(๒) ประสานจังหวัด, หอการค้าหรือภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อเปิดตลาดการค้าภายในจังหวัด, การค้าในงานประจำปีของจังหวัด
(๓) จัดสร้างเวปเพจ และการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของศูนย์/โครงการ เข้าสู่ระบบการค้าออนไลน์
(๔) จัดสร้างการสื่อสารข้อมูล หรือการค้นหาข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ประจำศูนย์/โครงการ ให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ทันสมัยภายใต้การกำกับดูแลของ ชป.ศูนย์/โครงการ
(๕) ประสานสโมสรฟุตบอลในพื้นที่ ในการผลิตผ้าพันคอกองเชียร์ฟุตบอล ที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายจากศูนย์/โครงการฯ ในพื้นที่ โดยอาจทำเป็นของที่ระลึกสำหรับสมาชิกวีไอพี ของสโมสร

๕.๑.๗ การน้อมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่สมาชิกและราษฎรใกล้เคียง
๑) ขยายผลและประยุกต์องค์ความรู้ใน “ศาสตร์พระราชา” สู่หมู่บ้าน/ชุมชน และขยายขีดความสามารถของ ศูนย์/โครงการฯ ให้เป็นศูนย์หรือแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำหมู่บ้าน/ชุมชน โดยให้ ศปร.เขตพื้นที่ สามารถถ่ายทอดความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร หรืองานเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
๒) ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดสรรงบประมาณไปดำเนินในศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรของกลุ่มสมาชิกตัวอย่าง/นำร่องที่ได้ดำเนินการดีแล้ว อันเป็นการต่อยอด/ขยายผลให้ศูนย์การเรียนรู้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น พร้อมเป็นตัวอย่างให้สมาชิกและราษฎรในพื้นที่มาเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

๕.๑.๘ การตรวจเยี่ยมศูนย์/โครงการฯ โดยผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น
๑) พบปะ หารือ พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการในจังหวัด อาทิ
ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจกรรมไปสู่ ศูนย์/โครงการฯ
ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
๒) ให้พิจารณา นำกิจกรรมบริการสาธารณะไปบริการสมาชิกและประชาชนที่มารอรับการตรวจเยี่ยมด้วย เช่น บริการรักษาพยาบาลขั้นต้น การซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า การทะเบียนสัสดี บริการปรึกษาด้านกฎหมาย บริการความรู้ด้านการเกษตร

๕.๑.๙ แผนการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
แผนการพัฒนาที่เหมาะสมตามความถนัดให้กับสมาชิกของ ศูนย์/โครงการฯ ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ ๖๕ – ๗๕ ปี) ซึ่งอาจจะไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมตามรูปแบบเดิมของการสมัครเข้าเป็นสมาชิกครั้งแรกได้ ยกตัวอย่างเช่น ปรับเปลี่ยนจากกิจกรรมการทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย เป็นการเลี้ยงไหม ทดแทนเพื่อไม่ให้สมาชิกขาดรายได้

๕.๑.๑๐ การอำนวยการและการบริหารจัดการ
๑) ให้มีวงรอบการอบรม,การประชุม, การชี้แจงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ สร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
๒) ให้มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยประจำศูนย์/โครงการ เพื่อเชื่อมโยงระบบการจ่ายเงินและระบบสมาชิก กับ กรส.
๓) ตรวจสอบฐานข้อมูลสมาชิกทุกประเภทให้ทันสมัย ถูกต้อง รวมทั้งระบบการจ่ายเงินค่าผ้าไหม และเงินช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้ถูกต้อง สมบูรณ์
๔) สำรวจเอกสารถือครองที่ดินที่เป็นที่ตั้งของศูนย์/โครงการ ประสานให้มีเอกสารการขอให้พื้นที่ให้ถูกต้องตามระบบราชการ เก็บหลักฐานการถือครองที่ดิน พร้อมสำเนาให้ ศปร.ทภ.๒ ทราบ เพื่อนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอีกครั้ง
๕) หน่วยระดับกองพล และ มทบ. สามารถออกคำสั่ง(สายงานปกติ)ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ ชป.ศูนย์/โครงการ เพื่อประกอบหลักฐานการเบิก – จ่ายงบประมาณประจำปีได้

๕.๑.๑๑ การดำเนินการต่อกลุ่ม “รสทป.”
๑) ให้ศึกษา ทำความเข้าใจ และตรวจสอบข้อมูลสมาชิกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ที่มีอยู่ในพื้นที่ พิจารณาจัดทำกิจกรรมพัฒนาสัมพันธ์,เยี่ยมเยียนสมาชิก “รสทป.” ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อสร้างกระแสและกระตุ้นแนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
๒) สำรวจสถานะภาพองค์กร “รสทป.” ผู้นำองค์กร, จำนวนสมาชิก และกิจกรรม
ที่ดำเนินการในปัจจุบัน รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาผืนธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ที่ได้รับพระราชทานไว้ประจำหมู่บ้าน/ชุมชน รายงานให้ ศปร.ทภ.๒ ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

๕.๑.๑๒ การบูรณาการร่วมภายใต้โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ลุ่มน้ำหมัน
ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จว.ล.ย. ศปร.เขตพื้นที่ พล.ร.๓/กอ.รมน.ภาค ๒ สย.๑ และ ศปร.เขตพื้นที่ มทบ.๒๘/มทบ.๒๘ ดำรงความร่วมมือและให้การสนับสนุนบูรณาการแผนการดำเนินงานพัฒนา
ตามแผนงาน/กิจกรรมของส่วนราชการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่อง การคมนาคม, การจัดหาแหล่งน้ำ, การพัฒนาอาชีพทางเลือกใหม่ และการจัดการที่ดินทำกินของราษฎรในพื้นที่ โดยให้
ชป.ประจำโครงการฯ เป็นผู้ประสานงานการพัฒนาในพื้นที่โดยใกล้ชิด

๕.๑.๑๓ ให้มีการประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของศูนย์/โครงการฯ ในสื่อทุกรูปแบบ
โดยเน้นย้ำ การนำเสนอความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้เป็นสมาชิกศูนย์/โครงการ
ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่านสื่อตามระบบโซเชียลมีเดีย
ในปัจจุบัน

๕.๑.๑๔ พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ทำงานและความเป็นอยู่ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานในศูนย์/โครงการ เช่น ที่รับประทานอาหาร, สถานที่พักผ่อน, เตียงนอน, ความสะอาดและถูกสุขลักษณะของที่ทำงาน โดย ศปร.ทภ.๒ จะสุ่มตรวจ/ประเมิน ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม ต่อไป

๕.๒ กิจกรรม/งาน ที่มีแนวความคิดจะดำเนินการโดย ศปร.ทภ.๒
๕.๒.๑ ยุทธศาสตร์ระยะยาว/เป้าหมายด้านการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริร่วมกับคณะกรรมการ ก.บ.จ. ในแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อความยั่งยืน
๕.๒.๒ ขออัตรากำลังพล ชป.โครงการ สายงาน กอ.รมน. เพื่อให้ได้สิทธิวันราชการทวีคูณเร่งด่วน
๑) อันดับ ๑ กำลังพลที่จัดจาก มทบ. ที่จัดประจำโครงการ จำนวน ๑๓ ชป.โครงการ
๒) อันดับ ๒ กำลังพลที่จัดประจำ บก.ศปร.เขตพื้นที่ มทบ. ( ปัจจุบัน ชป.โครงการ ได้รับสิทธิวันทวีคูณ สายงาน ศปก. เพียง ๑๐ แห่ง )
๕.๒.๓ สนับสนุนให้นายทหารที่จบจาก ร.ร.จปร.ต้องเป็น น.ประจำชป.โครงการ อย่างน้อย ๑ ปี
๕.๒.๔ ประสานและสร้างความเข้าใจกับ อปท. เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการพัฒนา ศูนย์/โครงการฯ
๕.๒.๕ จัดหาโซล่าเซลล์มาใช้ในศูนย์/โครงการเพื่อลดพระราชภาระค่าไฟฟ้า(กระทรวงพลังงาน)
๕.๒.๖ เชิญ พล.อ. สนั่น มะเริงสิทธิ์ บรรยาย “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง ในทศวรรษหน้า”ณ สโมสรร่วมเริงไชย เพื่อซึมซับพระอัจฉริยภาพในหลวง ร.๙
๕.๒.๗ ปรับปรุง พัฒนา และประชาสัมพันธ์ ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ทภ.๒
๕.๒.๘ ให้ ชป.ศูนย์/โครงการ เขียนโครงการ/กิจกรรม/แผนงาน หรือ อุปกรณ์/สิ่งของที่อยากจะได้ติดประกาศในศูนย์/โครงการเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมพบเห็น และช่วยกันสนับสนุน
พร้อมนำเสนอในแผนพัฒนาของชุมชนจนถึงแผนพัฒนาของจังหวัด
๕.๒.๙ ปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนา/ขยายผล คพร. ปี ๖๒ – ๖๕
๕.๒.๑๐ ขอรับคำชี้แนะและแนวคิดการดำเนินงานจาก กรส., สำนักงาน กปร., สปร.ทบ., พล.อ. สนั่น มะเริงสิทธิ์
๕.๒.๑๑ ให้ มทบ.เรียนรู้การรับ-ส่งผ้าไหมที่เกาะเกิด อยุธยา
๕.๒.๑๒ เสนอหัวข้อการประกวดโครงงานต่อมูลนิธิ พล.อ.เปรม ตินสูลานนท์ ชื่อ“โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในหมู่บ้านของฉัน” เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา”
๕.๒.๑๓ ปรับปรุงคู่มือการดำเนินงาน คพร. ทภ.๒ ให้ทันสมัย
๕.๒.๑๔ ประสานภาคเอกชน ร้านค้าในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในศูนย์/โครงการ เช่น สนับสนุนการแข่งขันการทอผ้า การสาวไหม การปลูกป่าในผืนป่าชุมชน
๕.๒.๑๕ การสนับสนุนโครงการ “จิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ( กกร.ทภ.๒ )
๕.๒.๑๖ การดำเนินงาน คพร. ใน จว.ล.ย. โครงการอาหารช้างภูหลวง, โครงการพัฒนาฯ
บ.เหล่ากอหก อ.นาแห้ว, โครงการ“รักษ์น้ำ เพื่อพระแม่ของแผ่นดิน”, โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อ.ด่านซ้าย จว.ล.ย. และโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำห้วยปลาดุก
บ.ห้วยปลาดุก อ.นาด้วง จว.ล.ย.
๕.๒.๑๗ โครงการ ร.ร. ตชด., ร.ร.ร่มเกล้า

๕.๓ แผนการดำเนินงานในห้วงต่อไป
๕.๓.๑ การอำนวยการและติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑) ประสานการอำนวยการและติดตามผลการดำเนินงานของ ศูนย์/โครงการฯ
ทั้ง ๔๔ แห่ง และกลุ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมบ้านหมากแข้งภายใต้ “โครงการเย็นศิระ บ้านหมากแข้ง”
๒) เตรียมการต้อนรับคณะฯ ที่จะมาตรวจเยี่ยม ศูนย์/โครงการฯ
๕.๓.๒ โครงการธง “พิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต” ๕.๓ แผนการดำเนินงานในห้วงต่อไป
๕.๓.๑ การอำนวยการและติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑) ประสานการอำนวยการและติดตามผลการดำเนินงานของ ศูนย์/โครงการฯ
ทั้ง ๔๔ แห่ง และกลุ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมบ้านหมากแข้งภายใต้ “โครงการเย็นศิระ บ้านหมากแข้ง”
๒) เตรียมการต้อนรับคณะฯ ที่จะมาตรวจเยี่ยม ศูนย์/โครงการฯ
๕.๓.๒ โครงการธง “พิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต”

  • เตรียมเยี่ยมป่า และสมาชิก รสทป.
    ๕.๓.๓ โครงการนิทรรศการ ทบ. กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • เตรียมการประชุมวางแผน ประสานงานกับ ศปร.เขตพื้นที่ และหน่วยงาน
    เพื่อกำหนดรูปแบบ การนำเสนอ และจัดทำกำหนดการ ในแต่ละจังหวัดในพื้นที่ภาค ตอ./น.
    ๕.๓.๔ โครงการน้อมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ
  • เตรียมการประชุมวางแผนดำเนินการ, การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างความเข้าใจระหว่างผู้รับการฝึกอบรม และแกนนำของแต่ละชุมชนในการนำความรู้ไปขยายผล
    ในพื้นที่