รปจ.การพิจารณาคัดเลือกฯธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”

การเตรียมการ

  • ห้วงเดือน ก.พ. – เม.ย. กระตุ้นให้มีการเสนอรายชื่อ หมู่บ้าน/ชุมชน หรือบุคคล
  • ห้วงเดือน พ.ค. เตือนครั้งสุดท้าย แล้วจัดทำแผนการตรวจภาคพื้นดินและเชิญประชุมในการประชุม แจกจ่าย กฎเกณฑ์การพิจารณาและแผนการเดินทาง
  • ถ่ายภาพคณะกรรมการการเตรียมทำบัตรประจำตัว พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
  • ห้วงเดือน มิ.ย. – ก.ค. ตรวจภาคพื้นดิน และตรวจภาคอากาศ

การตรวจภาคพื้นดิน

  1. เดินทางไปสำรวจพื้นที่ป่า
  2. กรรมวิธี, พิธีต้อนรับ (แล้วแต่จะจัดทำ, ถ้ามี)
  3. ฝ่ายบ้านเมืองแนะนำตัว
  4. ฝ่ายคณะกรรมการแนะนำตัว
  5. หมู่บ้าน/ชุมชน เสนอผลงาน, หลักฐาน, ภาพถ่าย, แบบจำลอง, ตัวอย่าง, ของจริง ฯลฯ เพื่อแสดงว่า ผลงานฯ มีผลการดำเนินงานอย่างไร
  6. กรรมการซักถามข้อสงสัย
  7. กรรมการให้การบ้าน, ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
  8. ประธานกล่าวให้กำลังใจและสรุป (ข้อ ๖ และ ๗ สลับกันได้)

การตรวจภาคอากาศ

  1. เตรียมสนาม ฮ. (ชื่อสนาม ฮ. , พิกัด)
    • ก่อนลง  ณ  ที่หมาย ฮ. จะบินวนเพื่อให้กรรมการได้ตรวจสภาพป่าทางอากาศและบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน
  2. เมื่อเดินทางถึงบริเวณพิธี/อาคาร/สถานที่ (เตรียมรถยนต์ รับคณะกรรมการ)
    • ผู้นำชุมชนในพื้นที่ เช่น นายอำเภอ, นายก อบต. ให้การต้อนรับ (หากเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีธงฯ ขั้นที่ ๑ อยู่แล้ว จะมีพิธีอัญเชิญธงฯ เข้าประจำแท่น)
    • ผู้นำชุมชนในพื้นที่กล่าวต้อนรับ แนะนำตัว แนะนำคณะกรรมการป่าชุมชน
    • เลขาฯ คณะกรรมการ กล่าวแนะนำคณะทำงานฯ
    • ผู้แทน กรส. กล่าวให้ข้อคิดเห็น
    • หน.คณะทำงานฯ กล่าวให้โอวาท (ชมเชย, ให้กำลังใจและให้แนวทางการปฏิบัติ)
    • คณะทำงานฯ เข้าดูสภาพป่า และผลผลิตของหมู่บ้าน/ชุมชน
    • คณะทำงานฯ เดินทางกลับ

**************************

หมายเหตุ – ให้ทำสรุปผลการตรวจ และเตรียมให้กรรมการลงนาม ในวันสุดท้ายไว้ล่วงหน้าการลงผลการพิจารณาทำได้โดยมือ (ปากกา) ก็ได้